คิดจะรักษาฝ้า ต้องเลือกที่มั่นใจได้

  จุดด่างดำ กระ ฝ้า หรือภาวะ hyperpigmentation เป็นภาวะที่ผิวหนังบางจุดมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ หรือเกิดเม็ดสีส่วนเกินในบริเวณนั้นๆ ซึ่งส่งผลให้ผิวหน้าดูไม่สม่ำเสมอ มีรอยปื้นสีดำ และยากต่อการปกปิด ถึงจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็สามารถกระทบความมั่นใจและบุคลิกภาพได้ไม่มากก็น้อย หากต้องคอยใช้เครื่องสำอางปกปิดตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระตุ้นต่อการเกิดภาวะนี้มีทั้งจากปัจจัยจากฮอร์โมนภายในร่างกายและปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ดังนั้นการทราบถึงสาเหตุและแนวทางการรักษาจะช่วยให้ผู้ที่เกิดปัญหาเหล่านี้สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นในการเริ่มดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว

ฝ้า คืออะไร?


  ฝ้า (melasma) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง (melanocyte) ทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดการเพิ่มของการผลิตเม็ดสีในเฉพาะจุด (hyperpigmentation) ทำให้มีสีผิวที่เข้มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มี Fitzpatrick skin types III-IV พบได้บ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นปื้นหรือแผ่นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม พบมากที่สุดบนใบหน้า และยังสามารถพบได้บริเวณคอ หน้าอก รวมถึงแขน โดยผู้หญิงมีอัตราส่วนที่พบมากกว่าผู้ชายคือ 9:1 ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ตามทฤษฎีเชื่อว่าฝ้าเกิดจากการที่ เซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) ที่อยู่ใต้ผิวหนังทำงานมากขึ้นกว่าปกติ เมลาโนไซต์ของผู้ที่เป็นฝ้า จะมีแขนงที่ยาวมากกว่าผิวหนังปกติ และมีเมลาโนโซมระยะที่ 3 และ 4 จำนวนมากขึ้น ทั้งในเซลล์หนังแท้และหนังกำพร้า บริเวณที่เกิดฝ้าเมลาโนไซด์จะผลิตเม็ดสีได้มากกว่าปกติ และจะส่งไปบริเวณผิวหนังทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีเข้มขึ้น
โดยปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิดฝ้า ได้แก่

  • ผิวคนเอเชีย โดยเฉพาะ Fitzpatrick skin type III-IV
  • เพศหญิง
  • การใช้ชีวิต การสัมผัสแสงแดด
  • ฮอร์โมนเพศ เช่น ในภาวะตั้ง ครรภ์ การทานยาคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม เช่นมีประวัติครอบครัวเป็นฝ้า
  • เป็นโรคไทรอยด์
  • ปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ

รอยคล้ำรอบดวงตา (dark circle eyes หรือ periobital hyperpigmentation)
รอยคล้ำรอบดวงตาเกิดจากชั้นเส้นเลือดฝอยที่อยู่ตื้น รอยหลุมและเงา การสะสมของเมลานินในชั้นหนังแท้, PIH ที่เกิดจาก allergic contact dermatitis เป็นต้น การรักษารอยคล้ำรอบดวงตา มีทั้งการใช้ยาทา เช่น HQ, Kojic acid, azelaic acid เป็นต้น ส่วนการทำหัตถการมีหลายวิธี เช่น การลอกผิวด้วยสารเคมี, คลื่นวิทยุ, fractional laser, picosecond laser, การฉีดฟิลเลอร์, การฉีดไขมัน เป็นต้น

กระ (ephelides, freckles)

(Ephelides (Freckles) - Dermatology Advisor, n.d.)

มีลักษณะเป็นจุดผื่นสีน้ำตาลจาง ของเขตชัด ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร พบได้ในบริเวณที่สัมผัสแสงแดด บริเวณใบหน้า หลังมือและแขนเป็นต้น ซึ่งมักพบในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ ซึ่งการตากแดดอาจส่งผลให้กระสีเข้มขึ้น และเป็นเพิ่มขึ้น

กระแดด (solar lentigo, actinic lentigo, sun spot, senile lentigo)

(Solar Lentigines - Dermoscopedia, n.d.)

เนื่องจากกระแดดถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด บริเวณที่เป็นจึงมักพบนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด เช่นบริเวณใบหน้า หน้าอกส่วนบน หลังมือและแขนเป็นต้น ขนาดของกระแดดเมื่อเริ่มเป็นมักจะเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร สีน้ำตาลจาง และจะมีสีเข้มในเวลาต่อมา โดยกระแดดมักจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยจุดเล็กที่เกิดขึ้นอาจรวมเป็นจุดใหญ่ได้ การรักษาสามารถทำได้โดยยิงเลเซอร์ที่เฉพาะกับเม็ดสีแบบมีสะเก็ดบางๆแล้วหลุดออก โดยสะเก็ดมักหลุดภายใน 7 วัน จำนวนครั้งในการรักษา 1-5ครั้ง โดยกระแดดมักตอบสนองได้ดีมากต่อเลเซอร์

กระลึก (Hori's nevus)

(Tian, 2015)

กระลึก มีลักษณะเป็นจุดกลมๆสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลเทา มักพบเป็นกลุ่มบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง และ ขมับทั้ง 2 ข้าง มักจะเริ่มเป็นตอนอายุประมาณ 20-30 ปี กรรมพันธุ์ก็มีส่วนเกี่ยวข้อง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 21:1 มีลักษณะเป็นจุดคล้ายกระ (freckle) แต่จะมีสีออกเทามากกว่า จึงเรียกปานชนิดนี้ว่ากระลึก ซึ่งพบว่าจะไม่จางหายเองและมักจะเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การรักษาต้องใช้เลเซอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงเท่านั้น เพื่อทำการขจัดเม็ดสีทั้ง epidermal pigment (ชั้นบน) และ dermal pigment (ชั้นหนังแท้) โดยสามารถรักษาได้ด้วย Picosecond Laser จำนวนครั้งในการรักษา ต้องใช้จำนวนครั้งไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เนื่องจากกระลึก เม็ดสีเมลานินต้นเหตุจะอยู่ลึกในชั้นผิวหนังแท้หรือผิวชั้นใน จึงยากต่อการจำกัดออก ดังนั้นการทายารักษารอยดำ หรือการทำเลเซอร์ที่เจาะจงเฉพาะหนังชั้นบน จึงไม่สามารถรักษากระลึกให้หายขาดได้ การทำเลเซอร์อาจมี transient hyperpigmentation (เข้มขึ้นชั่วคราว) และจะจางลงหลังทา Whitening agent

รอยสิว

รอยแดง (PIE) และรอยดำ (PIH) เป็นร่องรอยที่เกิดขึ้นหลังการเกิดสิวอักเสบ โดยรอยแดงที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการอักเสบที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังร่วมกับการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย แต่หากมีการอักเสบเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนานจะกระตุ้น Melanocyteให้ผลิตเมลานิน (Melanin) เพิ่มมากขึ้นเกิดเป็นรอยดำจากสิวหลังกระบวนการสิวอักเสบ ดังนั้นการดูแลสิวอักเสบที่เกิดขึ้นแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความรุนแรงของรอยสิวที่เกิดขึ้น

โดย Melanocyte เป็นเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีตามธรรมชาติที่กำหนดสีผิว สีผม สีตา รอยดำหลังสิว เกิดจากการสร้างเม็ดสี หรืออีกนัยหนึ่งคือการปล่อยเม็ดสีที่ผลิตจาก Melanocyte มากเกินไป ซึ่งทำให้รอยดำเข้มกว่าบริเวณอื่นๆ ดังนั้นคนที่มีผิวขาวแนวโน้มการเกิดรอยดำรอยแดงจึงมีโอกาสจางลงได้ไวขึ้น แตกต่างจากคนที่มีผิวคล้ำหากมีรอยดำเกิดขึ้นมักจะอยู่นานหน่อย

การรักษารอยดำเบื้องต้นควรเลือกใช้ skin care ที่มีส่วนประกอบของ Niacinamide, วิตามินซี, เรตินอล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจต้องมีระยะการรอคอย

ซึ่งตอนนี้วิธีกำจัดจุดด่างดำ รอยดำจากสิวที่เร็วและได้ผลดีที่สุดคือการใช้ Picosecond Laser ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุด โดยจะส่งผลโดยตรงต่อเม็ดสีและทำลายเม็ดสีโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที ปล่อยพลังงานในระดับ1/1,000 เท่าของนาโนเมตรของเลเซอร์ระบบดั้งเดิม (Q-switch)โดยการรักษาใช้จำนวนครั้งประมาน 3-5 ครั้งเท่านั้นตามความรุนแรงของปัญหาในแต่ละบุคคล

ซึ่งแนวทางการรักษาฝ้าที่เป็นระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลางอาทิเช่น
  • การลอกผิวในระดับตื้น : การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling), การขัดผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) และ การใช้เลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy)
  • การกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้า : vitamin A acid, glycolic acid, salicylic acid
  • การยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน : HQ, arbutin, kojic acid, licorice, ทรานซามีน
  • การลดการขนส่งเม็ดสีจากเซลล์เมลาโนไซด์ไปยังเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้า การทำลายเม็ดสีเมลานินภายในเซลล์ (เมลาโนไซด์, เคราติโนไซด์) : Q-switched laser, Fractional laser, Picosecond Laser

โดย HQ เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย สารอื่นๆเช่น Arbutin, Kojic acid, Licorice PT 40 มีความนิยมแต่ไม่มากเนื่องจากประสิทธิภาพต่ำกว่าในขณะที่ราคาสูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามการใช้ HQ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็สามารถส่งผลให้เกิด rebound hyperpigmentation ได้

กล่าวคือมีสีผิวเข้มขึ้นกว่าเดิมและอาจเกิดฝ้าถาวรได้ โดยแนวทางการรักษามีเป้าหมายหลัก 3 ประการได้แก่ ลดความเข้มของเม็ดสีที่เกิดขึ้นแล้ว, ยับยั้งขบวนการที่ก่อให้เกิดเม็ดสีใหม่ และป้องกันการเกิดเม็ดสีขึ้นใหม่โดยควรหลีกเลี่ยงการกระตุ้นจากรังสียูวี

แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาดได้ เนื่องจากสาเหตุการเกิด และวิธีการแบบดั้งเดิม เช่น การใช้สาร HQ, เตรทติโนอิน, Glycolic acid, Kojic acid, การขัดผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณีให้ผลเพียงบริเวณผิวหนังส่วนบนแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาฝ้าบริเวณที่ลึกลงไปในผิวหนัง

ดังนั้นการใช้เลเซอร์ในการแก้ปัญหาเม็ดสี จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งควรมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่
  1. มี Pulse width สั้น ในระดับ นาโน, พิโควินาที
  2. สามารถกำหนดพลังงานได้สูงมากพอ
  3. ความยาวคลื่นในระดับ Visible - 1,100 nm

การศึกษาเกี่ยวกับการทำเลเซอร์ชนิดที่ทำให้ผิวชั้นนอกหรือหนังกำพร้าเกิดการลอก (Ablative laser resurfacing) ในการรักษาฝ้า พบว่าทำให้เกิดความเจ็บและระยะเวลาในการกลับมาเป็นปกติค่อนข้างใช้เวลา และอาจเกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอขึ้นในภายหลัง หรือผลข้างเคียงที่รุนแรงคืออาจเกิดแผลเป็นได้ ดังนั้นเพื่อใหการรักษามีประสิทธิภาพ ระดับความลึกในการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อให้สามารถกำจัดเม็ดสีที่ต้นเหตุควรลงลึกถึงผิวหนังชั้น dermis ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการกรอผิว จะให้ผลได้ดีกว่า การทำเลเซอร์ชนิดที่ทำให้ผิวชั้นนอกเกิดอาการลอก (CO2 หรือ Erbium YAG laser ) ซึ่ง downtime ยาวนาน และผลข้างเคียงมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง นอกจากนี้ในการรักษาความผิดปกติของเม็ดสี การใช้เลเซอร์ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ Selective Photothermolysis หรือ การทำให้เกิดความร้อนขึ้นในตำแหน่งที่ต้องการ เช่น
532 nm frequency-doubled Q-switched Nd: YAG (2-3 J/cm2), 694 nm Q-Switched ruby (6-8 J/cm 2) or 755 nm Q-switched alexandrite laser (6-9 J/cm2) ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก และในการใช้ Intense pulsed light (IPL) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นกว้าง 515-1,200 nm มีการใช้อย่างกว้างขวางในการรักษาความผิดปกติของเม็ดสี ซึ่งไม่ใช่เลเซอร์จึงไม่ต้องทายาชา คลื่นแสงสามารถลงลึกได้บริเวณผิวส่วนบน รวมถึงส่วน dermis มีค่า pulse duration ในช่วงmillisecondจึงกระจายความร้อนได้ดีและลดผลข้างเคียงจากความร้อนที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่อย่างไรก็ตามการรักษาความผิดปกติของเม็ดสีด้วย IPL ควรใช้ควบคู่กับการรักษาแบบ topical therapy หรือการทาครีมที่มีประสิทธิภาพเช่น HQ และใช้กับฝ้าตื้นจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่เป็นฝ้าลึกและฝ้าผสม

  Q-switched laser เป็นเทคโนโลยี Minimally Selective Photothermolysis เนื่องจากมี pulse durations ที่สั้นมาก โดยสั้นกว่า IPL ประมาณ 1 ล้านเท่า โดย Q-switched NdYAG laser เริ่มมีใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 อาทิเช่น ruby (694 nm), alexandrite (755 nm) และ neodymium-doped yttrium aluminum garnet (Nd:YAG; 532 nm หรือ 1064 nm) โดยเป็นเลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดไฝ, ขี้แมงวัน และรอยสัก จึงคาดว่าจะเป็นเลเซอร์ที่สามารถรักษาฝ้าได้ดีอีกเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามจากข้อจำกัดที่สามารถแก้ไขเฉพาะผิวหนังชั้น epidermis ดังนั้นในการรักษาฝ้าผลที่ได้จึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายนัก โดยจากผลการศึกษาในการใช้ Q-switched ruby laserเพื่อรักษาฝ้าก็ยังไม่พบถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและยังพบว่ากลับมามีสีผิวเหมือนก่อนเข้ารับการรักษาในหลายเดือนต่อมา นอกจากนี้การศึกษา Q-switched alexandrite laser และ combined carbon dioxide (CO2) และ Q-switched alexandrite laser therapy ก็ยังไม่พบผลที่น่าพึงพอใจอีกเช่นเดียวกัน และยังพบผลข้างเคียงจากการรักษา ต่อมาได้มีการพัฒนา Q-switched laser ที่เรียกว่า low fluence หรือ subthermolytic Q-switched

  ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีความถี่ลดลง และสามารถแก้ปัญหาเม็ดสี และรอยสัก ได้จำเพาะและลงถึงผิวหนังที่ลึกมากขึ้น และมีผลการรักษาความผิดปกติของเม็ดสีได้ดียิ่งขึ้น

การทำงานของ Q Switch Nd:YAG laser

โดยการทำให้เม็ดสี หรือจุดด่างดำแตกกระจายโดยไม่ส่งผลผิวโดยรอบ โดยเม็ดสีจะดูดกลืนพลังงานจากเลเซอร์ เมื่อแตกกระจายเป็นชิ้นส่วนภายในเซลล์ผิวหนังจะถูกขับออกโดยขบวนการตามธรรมชาติของร่างกายโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งข้อดีของการใช้เลเซอร์คือลำแสงสามารถลงสู่ชั้นผิวที่ลึกกว่าการทาครีม การลอกผิวด้วยสารเคมี หรือการใช้ทรีทเม้นท์ที่ส่งผลเฉพาะผิวหนังชั้นบน

โดยหลักการของเม็ดสีที่แตกตัวจาก พลังงานแสงถูกดูดกลืนจนเกิดเป็นแรงดันโดยไม่ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในบริเวณข้างเคียง แต่ก็เกิดผลกระทบต่อเซลล์ผิวหนังข้างเคียงได้บ้าง แต่พบได้น้อยกว่าการรักษาด้วย Q-switched laser แบบดั้งเดิม และสามารถพบการกลับมาเป็นซ้ำได้ แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนั้น low-fluence Q-switched Nd:YAG laser จึงเป็นวิธีการรักษาฝ้าที่ปลอดภัย กว่า 60% ของผู้เข้ารับการรักษามีการตอบสนองที่ดี โดยพบว่า 30% สามารถกำจัดฝ้าได้เกือบทั้งหมด และพบว่ามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 30% พบด่างขาวประมาณ 5% จึงควรใช้ควบคู่กับวิธีการอื่นด้วย รวมถึงวิธีการในการรักษาก็เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีด้วยเช่น

ดังนั้นจึงเป็นเลเซอร์ที่ให้ผลดีในการรักษา กระแดด กระตื้น กระลึก กระเนื้อ ปื้นสีน้ำตาล ไฝ ปานดำโอตะ ปานมองโกเลียน รอยดำหลังผิวหนังอักเสบ (Post inflammatory hyperpigmentation) ฝ้าถาวร (exogenous ochronosis) พบได้ในคนดำที่ใช้HQความเข้มข้นสูงทาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน โดยผลข้างเคียงจากการรักษาสามารถพบได้บ้างอาทิเช่น รู้สึกเจ็บระหว่างการทำเลเซอร์ ซึ่งสามารถบรรเทาได้โดยการใช้ความเย็นหรือการแปะยาชา อาการแดง บวม คัน สามารถพบได้บ้างจะเกิดเพียงไม่กี่วันแล้วจะหายไปเอง หรือเกิดรอยดำที่มากขึ้น (hyperpigmentation) เนื่องจากเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) แตกกระจายออกจากการยิงเลเซอร์หรืออาจพบรอยด่างขาว (hypopigmentation) รอยแดงซึ่งพบได้ประมาณ 10% ของผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งสามารถหายได้เอง

ทำไมการใช้เลเซอร์ในการรักษาฝ้า จึงไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด?


  จากภาพโครงสร้างของผิวหนัง จะเห็นได้ว่าผิวหนังชั้นบนสุดซึ่งเรียกว่า Epidermis (ชั้นผิวหนังกำพร้า) จะมีเซลล์ keratinocyte ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตเคราติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบได้ในเซลล์ผิวหนังปกติ เช่นเดียวกัน โดยปกติก็สามารถพบเม็ดสีเมลานิน ซึ่งถูกสร้างมาจากเซลล์เมลาโนไซด์ ซึ่งพบได้ในชั้นลึกของชั้นผิวหนัง Epidermis โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาที่มีความนิยมได้แก่ Q-switch laser ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าสามารถทำให้เม็ดสีแตกตัว โดยตรงเข้าไปยัง Melanosome ซึ่งเป็นถุงที่บรรจุเม็ดสีเมลานิน โดยอยู่บริเวณชั้นผิวหนัง Epidermis โดยไม่ทำให้เกิดรอยแดง รอยช้ำ และไม่ต้องพักหน้าภายหลังการรักษา จึงเป็นเลเซอร์ที่มีความนิยมอย่างสูง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสาเหตุของการเกิดฝ้า รวมถึงความผิดปกติของเม็ดสี ยังไม่ได้รับการแก้ไข Melanocyte ซึ่งเป็นต้นเหตุในการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งอยู่บริเวณส่วนล่างของชั้นผิว deep epidermis และ dermis บางส่วน ไม่ถูกทำให้แตกตัว และยังสร้างเม็ดสีเมลานินปกติ จึงเป็นสาเหตุของการกลับมาเกิดฝ้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการใช้เลเซอร์ระบบดั้งเดิม ให้ผลเพียงบริเวณผิวหนังส่วนบน แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาฝ้าบริเวณที่ลึกลงไปในผิวหนังโดยเฉพาะในส่วนผิวหนังชั้น Dermis ที่อยู่ลึกลงไป

Picosecond laser จึงเป็นทางเลือกในการรักษา ฝ้า กระ จุดด่างดำซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถแก้ปัญหาเม็ดสีในชั้นที่ลึกลงไป ถึงผิวหนังชั้น Dermis ได้ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการขจัดเม็ดสีได้เหนือกว่า และใช้เวลาที่สั้นกว่า



Picosecond laser คืออะไร ?


  Q-switched Nd: YAG Laser = Nano second laser เป็นเลเซอร์ที่มี pulse witdths ในระดับ nano seconds (ns) ส่งพลังงานแสงความถี่สูงที่ความเร็วสูงสุด 1 ต่อ พันล้านวินาที (Nano seconds range = one billionth of a second= 10-9 s)

นวัตกรรมเลเซอร์ล่าสุด Picosecond laser เป็นเลเซอร์ที่มี pulse witdths ในระดับ pico seconds (พิโควินาที) ส่งพลังงานแสงความถี่สูงที่ความเร็วสูงสุด1 ต่อ ล้านล้านวินาที (Pico seconds range = one-trillionth of a second=10-12 s) โดยทฤษฎีคือการที่มี pulse witdths ลดลงในระดับ pico seconds (ps) จึงเหนือกว่า Q-switched Laser ซึ่งมี pulse witdths ในระดับ nano seconds (นาโนวินาที) โดยการส่งพลังงานแสงความถี่สูง ultra-short picosecond pulses มี pulse witdths ที่แคบมากในระดับ pico seconds โดยมีเป้าหมายไปที่เม็ดสีภายในผิวหนัง ในระยะเวลาที่สั้นมากกระจายตัวไปยังเม็ดสี ทำให้เกิดแรงกระแทกmechanical (acoustic) wave ต่อ Chromophore ที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น รอยสัก เม็ดสีเมลานินซึ่งเป็นแรงดันมหาศาลจาก ซึ่งทำให้เม็ดสีแตกกระจายออกจากผลของแรงดัน มากกว่าผลจากอุณหภูมิ จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมความร้อน ลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งเป็นผลมาจาก photoacoustic effect เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนทำให้เม็ดสีแตกตัวละเอียดมากกว่าเทคโนโลยี Nano second laser และเม็ดสีดังกล่าวจะถูกกำจัดออกตามกลไกธรรมชาติของร่างกายได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ยังมีการใช้ micro lens arrays เพื่อบีบลำแสงเลเซอร์เป็นจุดเล็กๆหลายๆจุด ซึ่งมีพลังงานแต่ละจุดสูงขึ้นหลายเท่า ทำให้ได้ลักษณะ fractional beam เกิดแรงกระแทกต่อจุดมากขึ้น เกิด Micro-cavity ในผิวหนังชั้น epidermis และ dermis ทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างและเรียงตัวใหม่ของคอลลาเจน รักษารูขุมขนกว้าง แผลเป็นหลุมสิว รวมถึงลดรอยเหี่ยวย่นได้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งการสร้างเม็ดสีมากกว่าปกติ จนเกิดเม็ดสีส่วนเกิน สามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์ที่จำเพาะต่อเม็ดสี ซึ่งจะแบ่งรอยโรคตามตำแหน่งที่เม็ดสีอยู่ เป็นเม็ดสีที่ผิวหนังชั้น epidermis, dermis หรืออยู่ทั้ง 2 ชั้น โดยการแบ่งเม็ดสีตามความลึก จะทำให้สามารถเลือกชนิดของเลเซอร์ รวมถึงความยาวคลื่นที่ใช้ ให้เหมาะสมกับรอยโรคนั้นๆ

เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลบรอยสัก Q-switched Nano second laser ได้ผลดีในรอยสักสีดำ ในขณะที่รอยสักหลายสี ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน ในขณะที่ picosecond laser ซึ่งมี pulse witdths ที่สั้นมาก สามารถลบรอยสักหลายสีได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นในการลบรอยสัก ลดริ้วรอย และรักษาความผิดปกติของเม็ดสี

สนใจรักษาฝ้าด้วยเทคโนโลยีล่าสุดพร้อมฟื้นฟูเซลล์ผิวแบบบูรณาการณ์ เพื่อรักษาฝ้าที่ต้นเหตุ แก้ปัญหาผิวอักเสบ ลดปัญหาฝ้าแน่นสะสม พร้อมฟื้นฟูสภาพผิว

จองสิทธิ์ได้ทางช่อง ทางไลน์ @bacclinic (คลิก)

โปรโมชั่นรับจำนวนจำกัด ทักได้เลยค่ะ

รักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ที่ต้นเหตุด้วยเทคนิคเฉพาะ เห็นผลไว ไม่ทำให้ผิวบาง ลูกค้าต่างไว้วางใจ ประสบการณ์กว่าหมื่นเคส

ทำไมการรักษาฝ้าด้วย Picosecond laser ความยาวคลื่น 755 nm จึงอาจยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ?


ถึงแม้จะมีการใช้ Picosecond laser ในคลินิกหลายแห่ง และมีทฤษฎีที่สนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายจุดที่น่าติดตาม อาทิเช่น


จากตัวอย่างผลการทดสอบทางคลินิก (Lee et al., 2017) โดยวัดปริมาณเม็ดสีเมลานินหลังการรักษา 7 วันด้วยเลเซอร์ที่แตกต่างกันได้แก่ 1,064 nm Q-switched NdYAG laser, 532 nm Q-switched NdYAG laser, Picosecond 755 nm Alexandrite laser และกลุ่มควบคุม โดยพบว่า1,064 nm Q-switched NdYAG laser สามารถลดปริมาณเม็ดสีเมลานินได้ดีกว่า Picosecond 755 nm Alexandrite laser โดยวัดจากค่า Melanin index

ดังนั้นทาง บีเอซี จึงเลือกใช้ Picosecond Laser ที่ความยาวคลื่น 1,064 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันว่าเหมาะกับสภาพผิวคนเอเชีย และให้ผลการรักษาความผิดปกติของเม็ดสีได้ดีกว่าความยาวคลื่น 755 nm อีกทั้งการใช้ Picosecond Laser มีข้อดีกว่าการใช้เลเซอร์ระบบดั้งเดิมหลายประการ เช่น การไม่สะสมความร้อนใต้ผิวหนัง ประสิทธิภาพในการขจัดเม็ดสีส่วนเกินที่สูงกว่า อีกทั้งทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างและเรียงตัวใหม่ของคอลลาเจน รักษารูขุมขนกว้าง แผลเป็นหลุมสิว รวมถึงลดรอยเหี่ยวย่นได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเลเซอร์ระบบใหม่ล่าสุดที่มีความครอบคลุมปัญหาผิวพรรณของคนเอเชีย

อย่างไรก็ตามการเกิดฝ้า รวมถึงความผิดปกติของเม็ดสี มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็น multifactorial ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้ามีได้ตลอด ตราบใดที่ยังแก้ที่ต้นเหตุไม่ได้ การรักษาที่ปลายเหตุก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100% จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมการรักษาฝ้า ยังคงเป็นปัญหาระดับโลก ที่รักษาได้ยาก และยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำในอัตราที่สูง

(Sonthalia, S., 2014)

การใช้เลเซอร์และการรักษาด้วยแสง


  การใช้เลเซอร์และการรักษาด้วยแสงส่งผลโดยตรงต่อเม็ดสีเมลานิน และโมเลกุลที่อยู่ใต้ผิวหนัง แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดใหม่ของเม็ดสีได้ จากเซลล์เมลาโนไซด์ใต้ผิวหนัง ซึ่งยังคงถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยดังรูปด้านบน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า การใช้เฉพาะเลเซอร์รวมถึงลำแสง จึงไม่สามารถรักษาได้ทั้งหมด รวมถึงไม่ใช่ first line ในการรักษาด้วย ดังนั้นการเข้าใจกระบวนการในการเกิดฝ้า และปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดฝ้า จึงมีความจำเป็นในการปรับวิธีการรักษาให้เหมาะกับผู้เข้ารับการรักษาแต่ละบุคคล

วิธีการใดคือแนวทางการรักษาฝ้าที่ดีที่สุด ?


  วิธีการรักษาฝ้าที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป ตามเป้าหมายในการรักษาฝ้า เนื่องจากฝ้าเกิดจากหลายปัจจัย การรักษา และป้องกันแก้ไขที่ต้นเหตุจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งจึงยังไม่ตอบโจทย์ในการรักษา เท่ากับวิธีการรักษาแบบ combination therapies ซึ่งต้องใช้หลากหลายวิธีการควบคู่กันไป โดยมีความจำเป็นหรือไม่จำเป็นที่ต้องใช้เครื่องเลเซอร์ราคาแพง เพราะสำหรับปัญหาความผิดปกติของเม็ดสีรวมถึงฝ้ามีหลายระดับ ซึ่งการใช้เฉพาะลำแสง เช่น IPL therapy รวมถึงเพียงยาทา หรือเมโสฝ้า ก็อาจจะเพียงพอในผู้เข้ารับการรักษาบางราย

ทำไมต้องรักษาฝ้า กระที่บีเอซี?


  1. โปรแกรมถูกออกแบบมาสำหรับรักษาฝ้า โดยตรง โดยเป็นการใช้เลเซอร์ด้วยเทคนิคการยิงที่อ่อนโยนแต่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมโปรแกรมซ่อมแซมเซลล์ผิวที่ต้นเหตุ ขจัดเม็ดสีในผู้ที่เป็นฝ้า จึงช่วยให้ฝ้าจางลงโดยไม่ทำให้หน้าบางลง
  2. ช่วยซ่อมแซมเซลล์ให้ผิวแข็งแรงในระยะยาว ลดโอกาสเกิดฝ้าซ้ำ พร้อมปรับผิวให้เนียนละเอียดมากยิ่งขึ้นจากการกระตุ้นคอลลาเจนใต้ชั้นผิว ผสมผสานเมโสเธอราปี ซ่อมแซมเซลล์ผิว เร่งการขจัดเม็ดสีอย่างอ่อนโยน เทคนิคเฉพาะของ บีเอซี
  3. เนื่องจากผิวคนเป็นฝ้า กระต้องดูแลเป็นพิเศษ จึงใช้ Picosecond Laser รักษาด้วยพลังงานที่เหมาะสม
    • ไม่ยิงแบบเลือดสาด: ด้วยวิธีการรักษาด้วยพลังงานที่ควบคุมได้ในการรักษาผิวอย่างอ่อนโยนแต่มีประสิทธิภาพ
    • หลีกเลี่ยงการกระตุ้นความเสียหายให้เส้นเลือดแตกที่อาจนำไปสู่ PIH - โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีฝ้าหรือปัญหาเรื่องสีผิวที่ควรหลีกเลี่ยงพลังงานสูง

ปัญหาความผิดปกติของเม็ดสีที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง ?



กระ (Freckles)

กระแดด ( Sun spot/ Solar lentigo)

กระลึก (Hori’s Nevus)

ฝ้า (Melasma)

รอยดำหลังผิวหนังอักเสบ (post inflammatory hyperpigmentation)


"ปัญหาความผิดปกติของเม็ดสี ไม่ใช่เพียงฝ้าอย่างเดียว ส่วนใหญ่เจอมากกว่าปัญหาเดียว"


จุดด่างดำ ปื้นสีน้ำตาลที่พบได้บนผิวหนัง มีหลายชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามปัญหาที่พบ อาทิเช่น จุดด่างดำที่เกิดขึ้นตามอายุ (age spots), จุดด่างดำจากแสงอาทิตย์ (sunspots), สีผิวไม่สม่ำเสมอ, ฝ้า, กระ เป็นต้น ในคนไข้ 1 รายสามารถพบจุดด่างดำได้มากกว่า 1 ชนิดซึ่งแม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ว่าก็เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีใครชอบนัก โดยปัญหาของเม็ดสีเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุหลักก็หนีไม่พ้นแสงแดด ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการทาครีมกันแดด ควบคู่กับกการรักษาร่องรอยจุดด่างดำที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งจุดด่างดำมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามปัจจัยที่เข้ามากระตุ้น ดังนั้นการเลือกใช้เลเซอร์เพื่อทำการรักษาจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์ควรทำการวินิจฉัย และควรวางแผนในการรักษาเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย และลดความกังวลใจในปัญหาของคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น


ลดปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดฝ้า เม็ดสีหมองคล้ำ


ผลจากฮอร์โมน

  ผลจากฮอร์โมนที่กระตุ้นการเกิดฝ้า สามารถพบได้เมื่อมีการตั้งครรภ์ รวมถึงการทานยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะปัญหาฝ้าในช่วงตั้งครรภ์พบได้บ่อยมาก โดยเม็ดสีผิดปกติจะจางลงหลังการคลอดบุตร ส่วนฝ้าที่เกิดจากการทานยาคุมกำเนิด ควรเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดเพื่อแก้ปัญหาฝ้าดังกล่าว



การทาครีมกันแดดเป็นประจำ

  ควรเลือกทาครีมกันแดดแบบ broad-spectrum ที่ครอบคลุมทั้ง UVA และ UVB โดยควรมีค่า SPF 15 เป็นอย่างน้อย ทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 20 นาที และควรมีการทาซ้ำระหว่างวัน โดยปัจจุบันครีมกันแดดมีหลายรูปแบบมากขึ้น การใช้แบบสเปรย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อความสะดวกในการใช้ซ้ำระหว่างวัน



การลดความผิดปกติของเม็ดสีโดยแพทย์

  โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและจ่ายตามความเหมาะสม เพื่อยับยั้งที่ปัจจัยกระตุ้นการเกิดฝ้าซึ่งมีหลายปัจจัย โดยไฮโดรควิโนน ยังคงเป็น gold standard ในการรักษาเม็ดสีผิดปกติ เช่นฝ้า กระ จุดด่างดำ โดยมีประสิทธิภาพที่ช่วยลดความเข้มของเม็ดสี แต่ต้องระมัดระวังผลข้างเคียงจากการใช้ในระยะยาว โดยอาจมีการใช้แบบ combination เช่นใช้ร่วมกับ เรตินอยด์ เป็นต้นนอกจากนี้สารกลุ่มอื่น ที่ระดับการออกฤทธิ์น้อยกว่า อาทิเช่น อาร์บูติน, วิตามินซี กรดโคจิก ก็สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม
  การทานยารักษาฝ้า ที่นิยมใช้คือ ทรานซามีน ซึ่งถูกค้นพบโดยบังเอิญ กับประโยชน์ที่ใช้ในการรักษาฝ้า โดยมีสารสำคัญอาทิเช่น lysine ซึ่งเข้าไปยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิว และเกี่ยวข้องกับการมีผลในการยับยังขบวนการ Plasminogen activator แต่อย่างไรก็ตามกลไกยังไม่แน่ชัด



การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling)

  การลอกผิวด้วยสารเคมีเป็นวิธีในการจัดการฝ้ารูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกับการรักษาฝ้าด้วยลำแสง หรือด้วยเลเซอร์ สารเคมีที่ใช้ลอกผิวอาทิเช่น glycolic acid, Lactic acid, Jessner’s peel เป็นต้น โดยผลที่ได้จะส่งผลต่อผิวหนังชั้นบนหรือชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าปัญหาฝ้าส่วนใหญ่มีต้นเหตุมาจากชั้นที่ลึกถัดลงไปในชั้น dermis หรือหนังแท้ ซึ่งการใช้สารเคมีในการลอกผิวถึงชั้นหนังแท้อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เช่นการอักเสบของผิวหนัง เกิด PIH หรือรอยดำหลังการอักเสบ โดยเฉพาะในผิวหนังชาวเอเชียซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก

ควรเริ่มรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์เมื่อไหร่?
  • ฝ้าหรือความผิดปกติของเม็ดสีที่ดื้อต่อการรักษาด้วยครีมลดฝ้า หรือการทานยาเป็นเวลา 6-8 สัปห์ดา
  • เกิดความผิดปกติของเม็ดสีร่วมกับการเกิดฝ้า เช่น กระแดด, กระตื้น, กระลึก
  • ผู้เข้ารับการรักษาต้องการหายจากฝ้าอย่างเร่งด่วน เช่น ไกล้ถึงงานสำคัญ ต้องการหายจากฝ้าภายในเวลาที่กำหนด จึงควรใช้เลเซอร์ร่วมด้วยในการรักษาเนื่องจากเห็นผลไว

Testimonials

  โดยการรักษาด้วยเลเซอร์สามารถใช้เพียงเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาอื่น และไม่จำเป็นต้องใช้เพียงเลเซอร์ชนิดเดียวทั้งนี้เพราะการเกิดฝ้าในแต่ละบุคคลมีปัจจัยที่แตกต่าง กันออกไป นอกจากนี้กลไกการเกิดฝ้ายังไม่เคลียร์ทั้งหมด รวมถึงระดับความผิดปกติ และระดับชั้นผิวหนังที่มีความผิดปกติและการตอบสนองต่อการรักษาฝ้ารวมถึงกลุ่มอาการเม็ดสีผิดปกติอื่นๆก็แตกต่างกันการวางแผนการรักษาในแต่ละบุคคลจึงต้องใช้ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการรักษาและความร่วมมือของผู้เข้ารับการรักษาโดยเฉพาะป้องกันปัจจัยในการเกิดใหม่ของฝ้าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการหายจากฝ้าในเวลาอันรวดเร็ว และมีโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำที่ลดลง


ข้อควรรู้เกี่ยวกับเลเซอร์แก้ปัญหาเม็ดสี(LASER MELASMA TREATMENT FAQS)


Q : จะรู้ได้อย่างไรหากเกิดจุดสีน้ำตาลบนใบหน้าว่าคือฝ้า (melasma) หรือ กระแดด (sun spots)
A : สาเหตุของการเกิดฝ้าส่วนใหญ่มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ดังนั้นจึงพบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ นอกจากนี้การทานยาคุมกำเนิดก็ส่งผลได้เช่นกันโดยเฉพาะในผู้หญิงที่ค่อนข้าง sensitiveต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนซึ่งบางครั้งการเปลี่ยนยี่ห้อของยาคุมกำเนิดก็สามารถทำให้เกิดฝ้าหนักกว่าเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อระดับฮอร์โมนกลับมาป็นปกติ เช่นหลังจากคลอดบุตร หรือหยุดการทานยาคุมกำเนิดแล้ว ฝ้าก็จะค่อยๆจางลงในที่สุด ซึ่งการรักษาฝ้า จะเกิดขึ้นในกรณีที่การเกิดฝ้านั้นมีสาเหตุมาจากแสงแดด โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับระดับของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการสัมผัสแสงแดดเป็นระยะเวลานาน สามารถทำให้เกิด ฝ้าแดด กระแดดได้ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นยิ่งมีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดด โดยการป้องกันด้วยครีมกันแดด และสำหรับผู้ที่เกิดปัญหาขึ้นแล้วการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์มีความยากกว่าการรักษาจุดด่างดำจากแสงแดด แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถรักษาได้ในที่สุด หากเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม และผู้เข้ารับการรักษาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

Q : รอยแดงที่เกิดจากสิว สามารถรักษาด้วยเลเซอร์หรือไม่?
A : รอยแดงที่เกิดขึ้น เกิดจากการอักเสบในช่วงที่เป็นสิวและทิ้งร่องรอยไว้ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน แต่เป็นเม็ดสีปกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงสามารถรักษาให้หายได้ง่ายด้วยการใช้เลเซอร์

Q : หากเกิดฝ้าที่บริเวณลำคอ และลุกลามอย่างรวดเร็วไปบริเวณแขน ข้อศอก เป็นต้น การรักษาด้วยครีมทาฝ้าที่มีส่วนผสมของHQ และการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี แต่ไม่หายทั้งสองวิธี แล้วการรักษาด้วยเลเซอร์จะสามารถช่วยได้หรือไม่ ?
A : Protocols ที่ใช้ในการรักษาฝ้า กระ รอยดำ ของ BAC Clinic สามารถแก้ปัญหาการเกิดฝ้าได้มากกว่า โดยก่อนเริ่มการรักษาต้องมีการประเมินสาเหตุของการเกิดฝ้า เพื่อให้ทราบว่าฝ้าที่เกิดขึ้นมีความคงที่แล้วหรือยัง และทำการรักษาด้วยเลเซอร์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อดูการตอบสนองของฝ้าต่อเลเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน เนื่องจากการตอบสนองของฝ้ามีความแตกต่างกันตามชนิดของฝ้า ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดในการรักษาจึงต้องมีการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือก protocols ที่มีประสิทธิภาพที่สุดต่อความผิดปกติของเม็ดสีในชั้นผิวหนังที่เกิดขึ้น

Q : ครีมทารักษาฝ้า ลดรอยดำ ที่มีในปัจจุบัน มีตัวไหนบ้าง ?
A: ในการรักษาฝ้า ลดรอยดำ การเลือกใช้ครีมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาเม็ดสีเป็นสำคัญ โดยสามารถใช้เพียงเดี่ยวๆ รวมถึงสามารถใช้ร่วมกันอาทิเช่น การใช้ 2% HQ ร่วมกับ azelaic acid, เตรทติโนอิน, kojic acid และในกรณีที่ปัญหารุนแรงสามารถพิจารณาใช้ HQ ในความเข้มข้นที่มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ครีมทาฝ้าบางชนิด ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้หากใช้ไม่ถูกวิธี

BAC Clinic ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในคลินิกเสริมความงามที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการแนะนำโดย Cleverthai.com

References

Ephelides (freckles) - Dermatology Advisor. (n.d.). Retrieved January 11, 2022, from https://www.dermatologyadvisor.com/home/decision-support-in-medicine/dermatology/ephelides-freckles/

Lee, Y. J., Shin, H. J., Noh, T.-K., Choi, K.-H., & Chang, S.-E. (2017). Treatment of melasma and post-inflammatory hyperpigmentation by a picosecond 755-nm alexandrite laser in Asian patients. Annals of Dermatology, 29(6), 779–781.

Solar lentigines - dermoscopedia. (n.d.). Retrieved January 11, 2022, from https://dermoscopedia.org/Solar_lentigines

Tian, B. W. C. A. (2015). Novel treatment of Hori’s nevus: A combination of fractional nonablative 2,940-nm Er: YAG and low-fluence 1,064-nm Q-switched Nd: YAG laser. Journal of Cutaneous and Aesthetic Surgery, 8(4), 227.
บริการอื่นๆที่น่าสนใจ

รักษาฝ้าต้องมั่นใจได้
ฝ้าหนา ฝ้าแดด ฝ้าลึกฝังแน่น จัดการได้โดยไม่ทำร้ายผิวด้านบน ไม่ทำให้ผิวบาง ลดการอักเสบของผิวด้วยนวัตกรรมความงามเพื่อผิวคนเป็นฝ้าโดยตรง ออกแบบการรักษารายบุคคล นัดหมายวางแผนการรักษาไม่มีค่าใช้จ่าย


ปรึกษาฟรีที่