การกำจัดขน มีหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ให้ผลถาวรและเป็นที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้ เลเซอร์กำจัดขนถาวร โดยเลเซอร์ที่ใช้จะมีผลในการทำลายรากขนไม่ให้สร้างขนใหม่ขึ้นมาอีก ทำให้บริเวณที่ทำเลเซอร์กำจัดขน ดูเรียบเนียนมากขึ้น โดยโปรโมชั่นเลเซอร์ขน มีทั้งแบบรายครั้ง และลงเป็นคอร์ส
เป็นคลื่นพลังงานเลเซอร์แบบพัลส์ยาวที่มีช่วงความยาวคลื่นอยู่ที่ 755 nm ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่เม็ดสีเมลานินสามารถดูดซับแสงได้ดีมากถึงผิวหนังชั้นในส่วนลึก (deep dermis) สามารถดูดซับแสงได้สูงกว่า ไดโอด 808 ประมาณ 25% และ Nd:YAG (1064 nm) ประมาณ 60% จึงเป็นเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดขน และ เนื่องจากสามารถดูดซับเมลานินได้สูง จึงเหมาะกับ skin type I-V หรือผู้ที่มีสีผิวค่อนข้างขาวสีผิวน้ำผึ้ง สีขนสีอ่อน ซึ่งความยาวคลื่นนี้ไม่เหมาะในการนำไปใช้ในผู้ที่มีผิวคล้ำมาก (skin type V-VI) เนื่องจากมีเม็ดสีเมลานินในหนังกำพร้ามาก ซึ่งจะแย่งจับกับพลังงานจากเลเซอร์ทำให้พลังงานทะลุลงมาถึงรากขนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการทำลายและอาจทำให้เกิดผิวไหม้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาประสิทธิภาพของ 755 nm diode laser เทียบกับ 755 nm alexandrite laser ในกลุ่มตัวอย่าง skin types III-IV ซึ่งมีผิวคล้ำพบว่าไม่แตกต่างกัน และมีความปลอดภัย และเนื่องจากความยาวคลื่นสั้นกว่าช่วงอื่นๆ จึงสามารถกำจัดขนที่รากฝังตัวอยู่ตื้นๆเช่น ขนคิ้ว ขนเหนือริมฝีปากบน ขนอ่อนบริเวณใบหน้า เป็นต้น
ความยาวคลื่นของไดโอดเลเซอร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 800-810 นาโนเมตร ความยาวคลื่นในช่วงนี้จะดูดซับแสงได้น้อยกว่า alexandrite laser ประมาณ 25% (แสดงในรูปที่ 1) และด้วยความยาวคลื่นที่มากกว่า จึงสามารถทะลุลงผิวหนังได้ลึกกว่า จึงอาจทำให้รู้สึกเจ็บกว่าการรักษาด้วย alexandrite laser ไดโอดเป็นเลเซอร์ที่เหมาะกับเกือบทุก skin type โดยสามารถดูดซับแสงได้สูงกว่า 1,064 nm ประมาณ 40% จึงมีประสิทธิภาพในการกำจัดขนได้สูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามไดโอดเลเซอร์ เป็นเลเซอร์ที่เหมาะสำหรับคนที่มีผิวขาวไปจนถึงผิวสีกลางๆ ไม่เหมาะจะใช้ในผู้ที่ผิวคล้ำมากหรือมีผิวสีแทน เพราะอาจเกิดรอยไหม้ได้ ซึ่งในกลุ่มนี้ควรเลือกใช้ Nd:YAG (1064 nm) จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าหลังจากทำต่อเนื่องหลายครั้งสามารถกำจัดขนในระยะยาวได้ประมาณ 30-60% ใน skin type I-V และมากถึง 75-90% เมื่อทำต่อเนื่อง 7-10 ครั้ง เนื่องจากความยาวคลื่นลงได้ในระดับความลึกกลางๆ สามารถเข้าจับเนื้อเยื่อเป้าหมายบริเวณ hair bulb และ bulge ของต่อมรากขน จึงเป็นความยาวคลื่นที่เหมาะสมในการกำจัดขนบริเวณ แขน ขา แก้ม หนวด ไม่เหมาะกับการทำที่ผิวหน้าหรือในบริเวณเล็ก ๆ ที่ต้องการความละเอียด
เป็นช่วงความยาวคลื่นที่แสงสามารถทะลุลงไปใต้ผิวหนังได้ลึก แต่เมลานินจะดูดซับแสงได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเลเซอร์ระบบอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น Nd:YAG จึงเหมาะกับผู้ที่มีผิวคล้ำ เนื่องจากมีโอกาสเกิดผิวไหม้น้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีช่วงความยาวคลื่นที่สามารถลงไปในระดับที่ลึกที่สุดของต่อมรากขน ดังนั้นจึงเหมาะกับการกำจัดขนที่รากฝังลงในระดับลึก เช่นบริเวณ รักแร้ บิกินี่ โดยสามารถกำจัดขนได้ประมาน 40-80% เมื่อทำต่อเนื่องหลายครั้ง การเพิ่มระดับพลังงานส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกำจัดขนดียิ่งขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีผิวขาว แต่ในผู้ที่มีผิวคล้ำไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการกำจัดขนนั้น ได้แก่ ความยาวคลื่นแสง (wavelength), พลังงาน (fluence), ช่วงเวลาปล่อยแสง (pulse duration) และ ขนาดลำแสง (spot size) เป้าหมายของการยิงเลเซอร์คือ ต่อมรากขน (hair follicle) หากการทำลายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ก็จะไม่มีเส้นขนงอกกลับขึ้นมาใหม่อีก แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทำการของเลเซอร์จะจำเพาะไปที่ตัวดูดแสง (chromophore) และเนื้อเยื่อเป้าหมายไม่สามารถดูดแสงเองได้ ดังนั้นการทำลายต่อมรากขน จึงต้องอาศัยความร้อนที่กระจายมาจากตัวดูดแสง ซึ่งตัวดูดแสงหลักในการกำจัดขนคือเมลานินในเส้นขน ซึ่งโดยทั่วไปจะสามารถดูดซับพลังงานแสงในช่วง 600-800 nm ได้ดีมาก แสงในช่วงนี้จึงให้ผลลัพธ์ที่ดีในการกำจัดขน แต่ในกลุ่มผิวสีเข้มซึ่งมีเม็ดสีเมลานินหนาแน่นในชั้นหนังกำพร้า ทำให้แย่งจับกับแสงเลเซอร์ ทำให้ แสงทะลุลงมาถึงรากขนน้อย ไม่เพียงพอต่อการทำลายและยังอาจส่งผลให้ผิวไหม้ ในกลุ่มนี้จึงควรใช้แสงที่มีความยาวคลื่นที่ยาวขึ้น และใช้พลังงานที่สูงขึ้น ดังนั้นโดยทั่วไปในการกำจัดขนจะใช้ช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 650 -1100 nm ซึ่งนอกจากนี้ การเลือกความยาวคลื่นแสงในการกำจัดขนยังขึ้นอยู่กับสีผิวและสีของเส้นขนอีกด้วย ซึ่งความยาวคลื่นที่อยู่ในช่วงที่สามารถกำจัดขนได้แก่ ruby (694 nm), alexandrite (755 nm), diode (810 nm), และ Nd:YAG (1064 nm)
รูปที่ 1 ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซึมเมลานิน (Hair Reduction with Lasers | Plastic Surgery Key, 2016)
เนื่องจาก สีผิว สีของเส้นขน ส่งผลต่อการเลือกใช้ความยาวคลื่น ซึ่งต้องมีความจำเพาะเจาะจง เป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรใช้ความยาวคลื่นในการจำกัดขนที่ครอบคลุม เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา โดยควรเลือกใช้เลเซอร์ที่สามารถกำจัดเส้นขนได้ทุก Skin type และ hair type เช่น Long-pulse alexandrite laser เหมาะที่จะใช้กำจัดขนในผู้ที่ skin type I-V หรือผู้ที่มีสีผิวค่อนข้างขาว สีขนสีอ่อน, Diode 808 ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่เมลานินสามารถดูดซับแสงได้น้อยกว่าช่วง alexandrite ประมาณ 25% ด้วยเหตุที่สามารถทะลุลงใต้ผิวหนังได้ลึกกว่า จึงอาจก่อให้เกิดความเจ็บขณะทำการรักษาได้มากกว่า ซึ่งเลเซอร์ไดโอด ไม่เหมาะกับการใช้กำจัดขนในผู้ที่ผิวคล้ำมาก skin type V-VI เพราะจะทำให้เกิดรอยผิวไหม้หรือ รอยขาวได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม Nd:YAG (1,064 nm) ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่สามารถทะลุลงไปใต้ผิวหนังชั้นลึก แต่เมลานินดูดซับแสงใด้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆที่กล่าวมา ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่มีผิวคล้ำเพราะมีความเสี่ยงน้อยสุดต่อการเกิดผิวไหม้ โดยเมื่อใช้พลังงานที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีผิวขาวสามารถกำจัดขนได้มากขึ้น แต่ในกลุ่มผู้ที่มีผิวคล้ำไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพมากนัก
รูปที่ 2 แสดงวงจรชีวิตของเส้นขน 3 ระยะ
เนื่องจากเส้นขนในแต่ละบริเวณอยู่ในระยะที่แตกต่างกัน จึงมีอายุไม่เท่ากัน
ซึ่งมีทั้งหมดด้วยกัน 3 ระยะ (รูปที่ 2) ได้แก่
ระยะเติบโต (anagen) , ระยะเสื่อมสภาพ (catagen) และ ระยะพัก (telogen) ด้วย ระยะ Anagen
เป็นระยะที่เส้นผมเจริญเติบโตมี มีเส้นเลือดมาเลี้ยง มีลักษณะเป็นกระเปาะซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดสี
และมีรากที่พร้อมจะสร้างขนใหม่ ช่วงนี้มีระยะเวลาประมาณ
3-8 ปี พบร้อยละ 85 – 90% ของเส้นผมทั้งศีรษะโดยการทำเลเซอร์ขนควรทำในช่วงแรกของการเจริญเติบโตของเส้นขน
(early anagen) เพราะกระเปาะรากขนขึ้นมาอยู่ในระยะตื้นที่สุด ทำให้แสงทะลุลงมารากขนได้ง่ายกว่าปกติ
ซึ่งแตกต่างกับเซลล์ที่กะเปาะรากขนในระยะพัก
ซึ่งถึงแม้จะอยู่ในระดับที่ตื้น แต่เนื่องจากไม่มีเม็ดสีเมลานิน ทำให้การดูดแสงได้น้อยลง
ซึ่งไม่เพียงพอในการกำจัดขน
โดยการใช้เลเซอร์กำจัดขนจะสามารถชะลอการงอกของเส้นขน
จากพลังงานความร้อนไปมีผลเปลี่ยนวงจรชีวิตของเส้นขนให้เข้าสู่ระยะเสื่อมสภาพ (catagen) หรือ ระยะพัก
(telogen) โดยระยะปลอดขนจะยาวนานเท่าไรขึ้นกับแต่ละบุคคล แต่ขนที่กลับงอกขึ้นมาใหม่จะมีขนาดเล็กลง
และสีอ่อนลง
เลเซอร์กำจัดขนต้องทำกี่ครั้งจึงจะเห็นผล ?
เลเซอร์กำจัดขนทำไมต้องทำบ่อย และควรทำบ่อยแค่ไหน ?
การเตรียมตัวก่อนการกำจัดขนด้วยเลเซอร์
เมื่อตัดสินใจว่าจะทำเลเซอร์ไม่ควรถอนหรือแวกซ์ขนในช่วง 2-4 สัปห์ดาก่อนเลเซอร์ เพราะจะทำให้สูญเสียตัวดูดซับแสงเลเซอร์ที่รากขนและเส้นขนซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเป้าหมาย นอกจากนี้หากต้องการกำจัดขนบริเวณนอกร่มผ้า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจัดเป็นระยะเวลานาน และ ไม่ควรใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว รวมถึงทำการลอกผิว ขัดผิว อย่างน้อย 1 สัปห์ดา ก่อนทำเลเซอร์กำจัดขน
ผลลัพธ์หลังทำไดโอด เลเซอร์ 3 พลังงาน
ผิวหนังในบริเวณที่ทำเลเซอร์กำจัดขนอาจมีรอยแดงอมชมพูประมาณ 30-60 นาทีและจะค่อยๆ หายไปเอง ซึ่งเป็นกระบวนการปกติในการทำเลเซอร์ขน โดยเส้นขนจะค่อยๆ ถูกดันให้หลุดออกจากผิวหนังภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการรักษา และอาจมีขนอ่อนขึ้นใหม่ ซึ่งจะมีขนาดเล็กลง ปริมานน้อยลง ขึ้นช้าลง โดยในระหว่างอยู่ในคอร์ส งดการถอน หรือแว๊กซ์ขน จนกว่าจะครบกำหนดในการกำจัดขนครั้งต่อไป เมื่อครบคอร์สประมาน 8 ครั้ง พบว่าส่วนใหญ่เส้นขนจะหายไปมากกว่า 2 ปี ส่วนน้อยจะพบว่ามีขนขึ้นบ้าง แต่จะเป็นเส้นเล็กๆ อ่อนๆ ซึ่งสามารถเข้ามาทำเลเซอร์เป็นรายครั้ง
การดูแลหลังเลเซอร์
หากมีอาการแสบร้อน บวมแดง ควรประคบด้วยเจลเย็นทันที หรืออาจทายาลดอาการบวมแดง
ข้อควรรู้